เจาะลึก 6 เส้นทางความยั่งยืนของอุทยานมิตรผลด่านช้าง พิชิตเป้าหมายสู่โมเดลโรงงานต้นแบบด้าน Carbon Neutrality แห่งแรก สร้างเมืองคาร์บอนต่ำร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดสุพรรณบุรี

0    539    0    20 มิ.ย. 2565 15:15 น.   
แบ่งปัน

เจาะลึก 6 เส้นทางความยั่งยืนของอุทยานมิตรผลด่านช้าง พิชิตเป้าหมายสู่โมเดลโรงงานต้นแบบด้าน Carbon Neutrality แห่งแรก สร้างเมืองคาร์บอนต่ำร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดสุพรรณบุรี

   เมื่อพูดถึงความยั่งยืน หรือการใส่ใจสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) มักถูกพูดถึงและปักธงเป็นเป้าหมายสำคัญที่หลายองค์กรในแวดวงอุตสากรรมทั่วโลกต่างเดินหน้าร่วมมือกันพิชิต เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)  ที่เกิดจากอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกสูงขึ้น และอาจทำให้โลกเข้าสู่จุดวิกฤติหากยังไม่เร่งแก้ไขอย่างจริงจัง โดยประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายร่วมกับนานาประเทศในเวทีการประชุม COP26 ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050* และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065* พร้อมนำพาประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในอนาคต

Carbon Neutrality VS Net Zero
ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือที่นิยมเรียกว่า Carbon Neutrality คือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ ผ่านการลดการปลดปล่อยตั้งแต่ต้นทางของการดำเนินธุรกิจ เช่น การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพิ่มแหล่งเก็บกักคาร์บอนด้วยการปลูกต้นไม้ หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) มาชดเชยในส่วนที่ไม่สามารถลดการปล่อยได้ ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เป็นเหมือนความท้าทายขั้นกว่า ที่องค์กรต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ตลอดห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจ โดยไม่สามารถนำคาร์บอนเครดิตมาชดเชยแทนได้ ซึ่งสองระยะเป้าหมายนี้ จึงกลายเป็นภารกิจสำคัญที่หลาย ๆ องค์กรในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต่างร่วมกันปรับตัวเพื่อสะท้อนความรับผิดชอบ และความตั้งใจในการดูแลโลกของเราให้ดีขึ้น

เส้นทางความยั่งยืนของมิตรผล
เช่นเดียวกับกลุ่มมิตรผล ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในแวดวงเกษตรอุตสาหกรรมของประเทศไทยพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพาประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยการต่อยอดแนวคิด “เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไร้ค่าให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือ From Waste to Value Creation” ด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างมีคุณค่าโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้ามุ่งสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2030* และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050* สอดรับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ ผ่านแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างครอบคลุมในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่สั่งสมมาโดยตลอด นอกจากนั้น ยังผลักดันให้ อุทยานมิตรผลด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ก้าวสู่การเป็นโมเดลโรงงานต้นแบบที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2023 ภายใต้โครงการ “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” ผ่าน 6 แนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

เจาะลึกเบื้องหลังเส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุทยานมิตรผลด่านช้าง
  1. เลือกใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต (Green Energy)
จากการบริหารจัดการและหมุนเวียนวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำชานอ้อยและใบอ้อย มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวลเพื่อวนใช้ภายในโรงงาน พร้อมยกระดับกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียพลังงาน ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 180,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  1. ผลักดันผลิตภัณฑ์ ภายใต้หลัก BCG จากผลผลิตทางการเกษตร
สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติของประเทศ ที่มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ ( Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ผ่านการต่อยอดสู่ธุรกิจต่อเนื่องจากผลผลิตอ้อยและน้ำตาล เช่น พลังงานไฟฟ้าชีวมวล เม็ดพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) จากอ้อยธรรมชาติที่ทั้งมีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 65,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  1. ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดการเผา มุ่งสู่เกษตรสมัยใหม่อย่างยั่งยืน  
ผ่านความร่วมมือกับชาวไร่ ชุมชน และภาครัฐ ในการสนับสนุนให้เกิดการซื้อ-ขายอ้อยสด เช่น การรับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล การทำ MOU ร่วมกับ 7 โรงงานน้ำตาลในการรณรงค์ตัดอ้อยสด การจัดทำแนวกันไฟในพื้นที่ไร่อ้อย หรือการจัดกิจกรรมเชิญชวนตัดอ้อยสดกับชาวไร่โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 15,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  1. บริหารจัดการน้ำเสีย และจัดการขยะในโรงงาน
ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียรวม (Activated Sludge) ทำให้กลุ่มมิตรผลสามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บน้ำดิบ ลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง และยังสามารถนำน้ำหลังการบำบัดมาใช้เป็นน้ำต้นทุนหมุนเวียนได้อีกด้วย พร้อมกำหนดแนวทางในการจำแนกประเภทขยะในโรงงานเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างเคร่งครัด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 10,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  1. ขยายพื้นที่ปลูกป่า และดูแลต้นน้ำ
ภายใต้โครงการพลิกฟื้นผืนป่าสู่ธรรมชาติที่ยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล จากความร่วมมือกับชาวไร่ ชุมชนรอบโรงงาน กรมป่าไม้ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายการปลูกต้นไม้กว่า 700,000 ต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งยังริเริ่มโครงการ OASIS หรือการสร้างอ่างกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากมาไว้สำหรับใช้ในฤดูแล้ง
  1. ชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offsetting)
จากใบรับรองสิทธิในการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และคาร์บอนเครดิตที่กลุ่มมิตรผลสั่งสมจากการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่าแนวทางการดำเนินงานอย่างครอบคลุมทั้ง 6 ด้านของอุทยานมิตรผลด่านช้าง สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 270,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนจังหวัดสุพรรณบุรีในการบรรลุเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อก้าวสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำในอนาคต ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต ตลอดจนเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ไปพร้อม ๆ กัน

การขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้อุทยานมิตรผลด่านช้างมีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2023 นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของกลุ่มมิตรผล บนเส้นทางที่จะมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่ในการเป็นองค์กรที่จะมีความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน ที่แสดงถึงบทบาทของผู้รู้จริง ทำจริง เพื่อนำพาให้ภาคเกษตรอุตสาหกรรม และประเทศไทย ก้าวสู่เมืองคาร์บอนต่ำและเติบโตสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงไปด้วยกัน

* เป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศไทย
1. เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี ค.ศ. 2050
2. เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี ค.ศ. 2065
 

* เป้าหมายด้านความยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล
1. เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ปี ค.ศ. 2030
2. เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ปี ค.ศ. 2050

ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ
““บรูว์ แอนด์ ไบทส์ บาย แมงโก้ ทรี” คอนเซ็ปต์ ใหม่ “ไทยซิกเนเจอร์ ทวิสต์” สุดเอ็กซ์คลูซีฟแห่งแรกในไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ภายใต้เครือ โคคา กรุ๊ป พร้อมการันตีความอร่อยจากตำนานร้านอาหารในเครือชั้นเลิศกว่า 60 ปี สำนักพิมพ์แม่บ้าน
““บรูว์ แอนด์ ไบทส์ บาย แมงโก้ ทรี” คอนเซ็ปต์ ใหม่ “ไทยซิกเนเจอร์ ทวิสต์” สุดเอ็กซ์คลูซีฟแห่งแรกในไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ภายใต้เครือ โคคา กรุ๊ป พร้อมการันตีความอร่อยจากตำนานร้านอาหารในเครือชั้นเลิศกว่า 60 ปี
บริษัท โคคา โฮลดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล ชูซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทย ที่กำลังเป็นที่นิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เปิดตัวร้านอาหาร “บรูว์ แอนด์ ไบทส์ บาย แมงโก้ ทรี” (Brew & Bites by Mango Tree) ภายใต้แนวคิด Collaboration for sustainable future ที่เฟ้นหาสุดยอดวัตถุดิบคุณภาพของแต่ละจังหวัดทั่วไทย จากเพื่อนเกษตรกรต้นน้ำ สู่ผู้บริโภคโดยตรง ส่งผ่านทางมื้ออาหารจานเด็ด ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร สนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้และเติบโตต่อเนื่องไปพร้อมกัน
ย้อนรอยเส้นทางสายไหมบุรีรัมย์ สู่หัตถศิลป์พื้นถิ่น “Colors of Buriram” โชว์นิทรรศการผ้าไทยเทียบชั้นมหาอำนาจวงการแฟชั่นโลก สำนักพิมพ์แม่บ้าน
ย้อนรอยเส้นทางสายไหมบุรีรัมย์ สู่หัตถศิลป์พื้นถิ่น “Colors of Buriram” โชว์นิทรรศการผ้าไทยเทียบชั้นมหาอำนาจวงการแฟชั่นโลก
จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างเซอร์ไพรส์ร่ายมนต์สะกดคนเข้าชมงาน ตะลึงความงดงามนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี Colors of Buriram เชิดชูภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยเรียงเรื่องราวอารยธรรมเส้นทางสายไหมในวันวาน สู่งานหัตถศิลป์พื้นถิ่น บอกเล่าวัฒนธรรมความเป็นไทยผ่านลวดลายอันวิจิตรบรรจงบนพื้นผ้าทอนานาชนิดและงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่าหลากหลายชิ้นงาน สร้างความประทับใจไม่รู้ลืมแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนชาวบุรีรัมย์ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมชมงานมากกว่า 20,000 คน ตลอดระยะเวลา 3 วัน