มาตรการการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2565

0    249    0    21 ต.ค. 2565 14:09 น.   
แบ่งปัน

มาตรการการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  “SME ปัง  ตังได้คืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2565

   สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินมาตรการการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “SME ปัง ตังได้คืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) ปีงบประมาณ 2565  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการ SME จะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business  Development  Service Provider : BDSP) ในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของตน

ซึ่งผู้ประกอบการ SME สามารถยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการบริการและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ หรือบริการด้านการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผู้ให้บริการทางธุรกิจ (BDSP) ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ https://bds.sme.go.th และหลังจากการพัฒนาเสร็จสิ้น ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารเพื่อขอรับเงินช่วยเหลืออุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแบบร่วมจ่าย (co-payment) จาก สสว. ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ สูงสุดไม่เกินรายละ 200,000 บาท

เป้าหมาย
ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น วิสาหกิจชุมชน หรือจดทะเบียนพาณิชย์ เน้นกลุ่มท่องเที่ยว / อาหาร-เครื่องดื่ม-ยา-สมุนไพร / New S-Curve / BCG / เกษตรแปรรูป ฯลฯ

คุณสมบัติผู้ประกอบการ SME ที่ขอรับความช่วยเหลือ อุดหนุน
  • เป็น SME ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตาม พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นกลุ่มสาขาตามที่ สสว.กำหนดได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ สสว.
  • กรณีบุคคลธรรมดาต้องมีสัญชาติไทย/กรณีนิติบุคคลต้องมีจำนวนหุ้นของบุคคลสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
  • ไม่ประกอบกิจการที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
  • ไม่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนหรือตัดสิทธิการขอรับความช่วยเหลือการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากเงินกองทุน
  • ยื่นชำระภาษีตามกฎหมาย (มีสำเนารายการยื่นภาษีในปี 2562 หรือปี 2563 หรือปี 2564)
  • มีคุณสมบัติ หรือไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่ สสว.กำหนด
  • ประเภทบริการที่ยื่นข้อเสนอการพัฒนาสอดคล้องตามที่ สสว. กำหนด

ประเภทบริการและหมวดค่าใช้จ่ายที่สนับสนุนภายใต้มาตรการปี 2565
  • การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ
  • การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด
  • การพัฒนาตลาดต่างประเทศ

โดยการดำเนินการในปี 2565 จะเน้นการสนับสนุนใน 3 หมวดดังกล่าว โดยการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ เช่น ค่าใช้จ่ายเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐาน / การประเมินสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ ประเมินต่าง ๆ / สอบเทียบเครื่องมือทุกประเภท ค่าใช้จ่ายในการขอมาตรฐาน ค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมความพร้อม ช่วยเหลือเพื่อให้ได้มาซึ่งการขึ้นทะเบียนใบรับรอง ใบอนุญาต หรือทะเบียนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจตามที่กฏหมายกำหนด

ส่วนค่าใช้จ่ายในด้านการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด และการพัฒนาตลาดต่างประเทศ เช่น ค่าคูหา ค่าเข้าร่วมกิจกรรมการเจรจาการค้าหรือจับคู่ธุรกิจ ฯลฯ เป็นต้น โดยผู้ประกอบการ SME สามารถเลือกดูบริการ และเปรียบเทียบราคาของบริการได้ผ่านระบบ

สัดส่วนการสนับสนุน SME
ขนาดวิสาหกิจ สถานะการเป็น SME สสว.ให้การสนับสนุน
สัดส่วนไม่เกิน วงเงินที่ สสว. สนับสนุนไม่เกิน
MICRO SME
รายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
เป็นนิติบุคคล หรือ
บุคคลธรรมดาที่
จดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐ (วิสาหกิจชุมชน / จดทะเบียนพาณิชย์)
80 % 50,000 บาท
SE
รายได้ต่อปี
ภาคการผลิตไม่เกิน 40 ล้านบาท
และภาคธุรกิจอื่นไม่เกิน 20 ล้านบาท
80 % 100,000 บาท
SE+ / ME
รายได้ต่อปี
ภาคการผลิตไม่เกิน 500 ล้านบาท
และภาคธุรกิจอื่น ไม่เกิน 300 ล้านบาท
นิติบุคคล 50 % 200,000 บาท


พื้นที่ดำเนินการ                     ทั่วประเทศ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ          สิ้นสุด 30 ก.ย. 2566 (สามารถยื่นข้อเสนอการพัฒนาได้จนถึง 31 ส.ค.2566)
การสมัครเข้าร่วมโครงการ      สมัครเข้าร่วมโครงการ และยื่นข้อเสนอการพัฒนาได้ผ่านแพลตฟอร์ม BDS https://bds.sme.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Call Center 02-038-5858 หรือศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) ทุกจังหวัด
ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ
ฮุนได โมบิลิตี้ ประเทศไทย จับมือ JWON เปิดประสบการณ์งานศิลปะบนยานยนต์ IONIQ 5 กับกิจกรรม “IONIQ Powering Arts x JWON” ณ IONIQ Lab  สำนักพิมพ์แม่บ้าน
ฮุนได โมบิลิตี้ ประเทศไทย จับมือ JWON เปิดประสบการณ์งานศิลปะบนยานยนต์ IONIQ 5 กับกิจกรรม “IONIQ Powering Arts x JWON” ณ IONIQ Lab
บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (HMT) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนแห่งโลกยานยนต์ ร่วมมือกับศิลปินไทยชื่อดัง “JWON” สรายุทธ คุระแก้ว นำเสนอพลังสร้างสรรค์แห่งศิลปะที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านการสรรสร้างงานศิลปะหนึ่งเดียวบนรถยนต์ IONIQ 5 ในรูปแบบของ Art Car พร้อมจัดเวิร์กช็อปรอบเอ็กซ์คลูซีฟ “IONIQ Powering Arts x JWON” ณ IONIQ Lab ให้ผู้เข้าร่วมงานสรรสร้างงานศิลปะด้วยตัวเอง ไปพร้อมกับสัมผัสการบรรจบกันของความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยียานยนต์ล้ำสมัย นอกจากนั้น ยังมีนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของ JWON ที่สรรสร้างขึ้นเพื่องานนี้โดยเฉพาะ รวมถึงภาพที่วาดขึ้นใหม่ และรูปปั้น Dylie ขนาด 2 เมตร