กรดไหลย้อน โรคยอดนิยมของคนออฟฟิศ

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    18,368    4    26 ธ.ค. 2559 17:30 น.   
แบ่งปัน
กรดไหลย้อน โรคยอดนิยมของคนออฟฟิศ

ในช่วงเดือนธันวาคม หลายคนก็มุ่งมั่นกับการทำงานเพื่อเก็บเงินเที่ยวในช่วงสิ้นปีที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน จนไม่มีเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้รู้สึกขมในปากหรือแสบบริเวณหน้าอกใช่ไหมค่ะ อาการเหล่านั้นทำให้เกิด “โรคกรดไหลย้อน” ได้ค่ะ

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือ ภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด ทำให้หลอดอาหารอักเสบ โดยปกติหลอดอาหารจะมีการบีบตัว เพื่อไล่อาหารลงด้านล่าง และหูรูดมีหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่หูรูดของบางคนจะทำงานได้น้อยลง เพราะดื่มสุรา, อ้วน, สูบบุหรี่, รับประทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด หมักดอง อาหารมัน และอาหารย่อยยาก, รับประทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป หรือเครียด ในประชากรไทยสามารถพบโรคนี้ได้ ประมาณ 1 ใน 5 คนของคนทั่วไป ทุกกลุ่ม และทุกช่วงอายุ ถ้ามีการไหลย้อนของกรดมากอาจจะทำให้ไหลออกนอกหลอดอาหารได้ มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ถ้าไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจจะทำให้อาการเรื้อรังจนกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

อาการ
รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ หรือกลางหน้าอก ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะไปที่คอได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหาร, รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ ท้องอืด จุกเสียด และแน่นท้อง, มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา, เรอบ่อย คลื่นไส้, รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
 
การรักษา
โรคกรดไหลย้อนสามารถลดอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน คือ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลมทุกชนิด, การรับประทานอาหารทอด อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด และรสเผ็ด, ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ ช็อกโกแลต, รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะอาหารก่อน, งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะนิโคตินในบุหรี่จะเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้หูรูดกระเพาะอาหารอ่อนแอ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หูรูดเปิดออกได้ ในการพบแพทย์ ซึ่งวิธีการรักษานั้น สามารถทำได้ทั้งแบบการรับประทานยา เพื่อลดกรดในกระเพาะ รวมทั้งการผ่าตัด เพื่อผูกหูรูดกระเพาะอาหาร
 
 
สาระน่ารู้อื่นๆ