ภัยเงียบใกล้ตัวอันตรายจากสารกันบูด

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
0    35,744    10    24 ก.พ. 2560 09:40 น.   
แบ่งปัน
ภัยเงียบใกล้ตัวอันตรายจากสารกันบูด

ด้วยวิถีการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันต้องทำงานแข่งขันกับเวลา ทำให้เราต้องการอาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการดำรงชีวิต จึงเกิดกระบวนการถนอมอาหารขึ้นมา ทั้งการใช้ความร้อน ความเย็น ความเค็มของเกลือ การฉายรังสี หรือแม้แต่การใช้สารเคมีที่เรียกว่าสารกันบูด
 
สารกันบูด หรือวัตถุกันเสีย เป็นสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหารช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ตัวช่วยป้องกันหรือช่วยทำลายจุลินทรีย์เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารตามท้องตลาดที่วางขายได้นาน ๆ นั้นล้วนแล้วแต่มีการใส่สารกันบูด สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มของกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน เป็นกลุ่มสารที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปหลายประเภท เช่น แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง รวมทั้งเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายของสารกันบูดภัยเงียบใกล้ตัวอันตรายจากด้วยวิถีการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันต้องทำงานแข่งขันกับเวลา ทำให้เราต้องการอาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการดำรงชีวิต จึงเกิดกระบวนการถนอมอาหารขึ้นมา ทั้งการใช้ความร้อน ความเย็น ความเค็มของเกลือ การฉายรังสี หรือแม้แต่การใช้สารเคมีที่เรียกว่าสารกันบูด มนุษย์ในปริมาณต่ำ จึงสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ ผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต แต่ถ้าได้รับมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นในแต่ละวันไม่ควรได้รับเกินค่าความปลอดภัยที่กำหนด

 2.  กลุ่มของไนเตรทและไนไตรท์ มีคุณสมบัติเป็นสารตรึงสี หรือที่เรียกกันว่าดินประสิว ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและการสร้างสารพิษของเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ได้เฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม แต่หากใช้สารไนเตรทและไนไตรท์ ในปริมาณมาก ๆ หรือเกินเกณฑ์ที่กำหนด อาจก่อให้เกิดมะเร็งขึ้นได้

3. กลุ่มของซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นสารฟอกขาว ที่ใช้ป้องกันการเกิดสีน้ำตาลอันเป็นผลจากอาหารทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย อนุญาตให้ใช้ในพืชผักผลไม้แห้งและแช่อิ่ม ไวน์ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว หากได้รับสารชนิดนี้ในปริมาณมาก จะทำให้หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน

4. กลุ่มอื่นๆ เช่น ไนซิน ที่ใส่ในชีสบางชนิด โพรพิลพาราเบน เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน ใช้เฉพาะในแยมและเยลลี่ ไพมาริซิน ใช้เฉพาะที่ผิวของเนยแข็ง และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักเกลือที่ผ่านหรือไม่ผ่านความร้อน

ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธสารกันบูด อีกทั้งการจะตรวจดูว่าอาหารที่ซื้อมานั้นมีสารกันบูดหรือไม่คงต้องส่งตรวจในห้องแล็บเพียงอย่างเดียว แต่จะทำอย่างไรให้ร่างกายได้รับอันตรายจากสารกันบูดน้อยที่สุด ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหาร และเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด
สาระน่ารู้อื่นๆ