วัคซีน(จำเป็น)...ยาป้องกันภัยลูกน้อย ภาค 1

หน้าแรก      สาระน่ารู้
ถูกใจ
1    6,352    1    11 มี.ค. 2560 11:40 น.   
แบ่งปัน


กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยให้เด็กฉีดวัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิด สำหรับป้องกัน 10 โรค ที่สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง เพื่อให้เด็กทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง และมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ดี สามารถแบ่งได้ตามวัย ดังนี้

1. บีซีจี (BCG) วัณโรคสามารถติดต่อง่ายผ่านการหายใจหรือเข้าทางบาดแผล เด็กจึงต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ ที่บริเวณไหล่ซ้าย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด เพื่อป้องกันการอาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง

2. ตับอักเสบบี (HBV) โรคตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในครรภ์ผ่านสายรก ถ้าคุณแม่มีเชื้อ (พาหะ) เด็กต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ตั้งแต่เกิด, 1 และ 6 เดือน หรือฉีดเป็นวัคซีนรวม กับคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วติดเชื้อแล้ว แรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แต่เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำลายเซลล์ตับจนตับอักเสบ ตับแข็ง และเป็นโรคมะเร็งตับได้

3. คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดเซลล์ (DTwP)
- โรคคอตีบ น้ำลายจากการไอ จาม หรือน้ำมูกของผู้ป่วย เป็นอีกสิ่งที่เด็กควรระวังพาหะ เพราะเมื่อเด็กได้รับเชื้อแบคทีเรียแล้วจะมีเยื่อสีขาวปนเทาอุดหลอดลม จนเกิดอาการเจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก ไอ มีไข้ต่ำ ๆ และหลอดลมอักเสบ 
โรคบาดทะยัก เชื้อบาดทะยักเป็นเชื้อที่อยู่ในบริเวณที่เด็กชอบไปเล่นซุกซนนั้นเข้าไปร่างกายผ่านบาดแผล และปล่อยสารพิษจับกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของเด็กหดเกร็งตลอดเวลา
- โรคไอกรน เชื้อแบคทีเรียที่มากับละอองอากาศเล็ก ๆ จากการไอหรือจามของผู้ป่วย รวมทั้งปะปนมากับเสมหะ นํ้ามูก และนํ้าลายของผู้ป่วย อาจจะทำให้เด็กไอค๊อกไอแค๊กเป็นชุด ๆ ติดต่อกัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนหายใจไม่ทัน สลับกับการหายใจเข้าลึก ๆ จนมีเสียงดังวู๊ป

โดยเด็กต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนรวม 3 โรค จำนวน 3 ครั้ง และฉีดกระตุ้นอีก 2 ครั้ง หลังจากนั้นควรฉีดวัคซีนบาดทะยักและคอตีบ (Td) กระตุ้นซ้ำทุก ๆ 10 ปี

4. โปลิโอชนิดกิน (OPV) อาหารและน้ำดื่มที่ลูกรับประทานเข้าไปนั้นสะอาดเสมอไป เพราะอาจมีเชื้อไวรัสโปลิโอเล็ก ๆ แฝงอยู่ในนั้น เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปทำลายเซลล์ประสาทไขกระดูกสันหลังและระบบประสาทต่าง ๆ จนกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาตได้ เด็กต้องกินหรือหยอดวัคซีนชนิดนี้เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน แล้วต้องหยอดเพื่อกระตุ้นอีก 2 ครั้ง คือ 18 เดือน และในช่วง 4-6 ปี
 
5. หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)
โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน
เชื้อหัดเยอรมัน เมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้เด็กจะมีไข้สูง 1 -2 วัน และผื่นขึ้น 3-5 วัน แล้วยุบได้เองโดยไม่เหลือรอยทิ้งไว้ แตกต่างจากหัด ที่เด็กจะมีไข้ 3-4 วัน มีผื่นขึ้นทั้งตัวเมื่อยุบแล้วจะเหลือรอยสีน้ำตาลทิ้งไว้ ซึ่งเด็กควรรับการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 9-12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดไป
โรคคางทูม เด็ก ๆ รู้ไหมว่าเพียงแค่ผู้ป่วยโรคนี้ไอหรือจามใส่หน้า หรือเผลอไปสัมผัสสิ่งของจะทำให้เชื้อไวรัสเข้าร่างกาย ทำให้ต่อมน้ำลายบริเวณแก้มหน้าหู เหนือขากรรไกร (พาโรติด) บวมอักเสบ จนโย้ลงมากลายเป็นคางทูมได้ เด็กจะต้องฉีดวัคซีนแบบวัคซีนรวม 3 โรค เมื่ออายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และฉีดวัคซีนกระตุ้น เมื่ออายุ 4 – 6 ปี

6. ไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
เกิดจากการติดเชื้อผ่านทางยุงตัวเล็ก ๆ ที่บินไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อโรค และเมื่อยุงบินมากัดเด็กเชื้อเหล่านั้นจะเข้ามาในร่างกายของเด็กก็ทดกาส่ดกดสกดสกดสกดและแบ่งจำนวนเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ จะทำให้เด็กรู้สึกปวดศีรษะ อาเจียน และมีไข้สูงตลอดเวลา ถ้าเชื้อแบ่งตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นสมองเมื่อไหร่จะทำให้เด็กเป็นโรคไข้สมองอักเสบจนเด็กเสียชีวิตได้ เด็กจะต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ 2 เข็ม ระหว่างอายุ 9-18 เดือน โดยฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2 – 2 1/2 ปี
 
 
สาระน่ารู้อื่นๆ