ข้าวยำปักษ์ใต้จากผักในสวน

แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
6,080    11    -4    10 ธ.ค. 2562 19:00 น.
แบ่งปัน
“เรื่องเล่าสุขภาพจากที่ตัวเองเคยสัมผัส พร้อมแปลงปลูกผักเล็ก ๆ ในรั้วบ้าน
 อยากกินเมื่อไรก็เดินไปเด็ดสด ๆ มาปรุงอาหารได้ทันที ถึงแม้จะไม่มีพื้นฐานด้านอาหารมากนัก แต่ก็รักในการทำ และอยากแชร์เรื่องราวต่าง ๆ ให้อ่านกัน”
       อยู่ ๆ ก็นึกอยากกินเมนูผัก แต่จะกินผักแบบเดิม ๆ อย่างผัดหรือต้มก็ดูจะน่าเบื่อเกินไป ครั้งนี้ขอนำผักริมรั้วมาทำเป็นเมนูอร่อยที่เรียกว่า “ข้าวยำปักษ์ใต้” ดูบ้าง เนื่องจากวัตถุดิบมีไม่เยอะมาก แถมยังรสชาติดี เหมาะเป็นอาหารจานเดียวสำหรับทุกคนในครอบครัว

ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารจานเดียวท้องถิ่นของทางภาคใต้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมได้อย่างลงตัว เรียกกันในภาษามลายูว่า “นาซิเกอราบู” (Nasi kerabu) ซึ่ง “นาซิ” แปลว่า “ข้าว” ส่วน “เกอราบู” แปลว่า “ยำ” เป็นเมนูที่มากไปด้วยประโยชน์ เนื่องจากมีส่วนผสมของผักและสมุนไพรที่หลากหลาย เวลาไปเที่ยวทางภาคใต้เรามักจะหาเมนูนี้มาลองชิมอยู่เสมอ เพราะแต่ละบ้านจะมีผักและสมุนไพรต่างกันไป อย่างบ้านนี้มีดอกดาหลา เขาก็จะนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปด้วย หรือบางบ้านชอบเส้นหมี่ ก็จะใส่หมี่ผัดซีอิ๊วลงไป แต่ส่วนผสมหลักจริง ๆ นอกจากข้าวสวยก็คือ กุ้งแห้งป่น พริกป่น ถั่วงอก ถั่วฝักยาวหั่นฝอย แตงกวา ตะไคร้หั่นฝอย ใบมะกรูดอ่อนหั่นฝอย ใบชะพลูหั่นฝอย ส้มโอ หรือมะม่วงดิบหั่นเป็นเส้น ๆ และน้ำบูดูปรุงรส ที่ให้รสเค็ม ๆ หวาน ๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบ้านที่ปรุง  

อย่างบ้านเราจะนำน้ำบูดูมาตั้งไฟพอเดือด จึงใส่น้ำเปล่าลงไป ตามด้วยตะไคร้ กระชาย หอมแดง ข่า ใบมะกรูด และใบเตย ต้มไปเรื่อย ๆ จนได้กลิ่นหอมจึงปรุงรสด้วย น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลทราย เคี่ยวต่อจนเริ่มงวดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็นนำมาราดบนข้าวยำได้เลย ส่วนผักสดนะเหรอ วันนี้มีผักอะไรน่ากินก็เก็บอันนั้นมาซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องระบุว่าต้องเป็นผักชนิดไหน ขึ้นอยู่กับความชอบก็พอ
 

ข้าวยำปักษ์ใต้
ส่วนผสม
 

ข้าวสวย 1 ถ้วยตวง
ใบชะพลูซอย 3 ช้อนโต๊ะ
ถั่วงอกดิบ 2 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ถั่วฝักยาวซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดซอย 1 ช้อนโต๊ะ
มะม่วงเปรี้ยวสับ 2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งโขลกหรือปั่นจนฟู 1 ช้อนโต๊ะ
มะพร้าวคั่วให้เหลืองกรอบ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น 1 ช้อนชา
มะนาวหั่นชิ้น 1 ชิ้น

ส่วนผสมน้ำบูดูปรุงรส
น้ำบูดูอย่างดี 1 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
ตะไคร้ทุบพอแตกหั่นท่อน 3 ต้น
ข่าหั่นแว่นทุบพอแตก 5 แว่น
กระชายทุบพอแตก 25 กรัม
ใบมะกรูดฉีกก้านกลางออก 3 ใบ
หอมแดงทุบพอแตก 25 กรัม
น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม
น้ำตาลทราย 50 กรัม
ใบเตย 3-4 ใบ
 

วิธีทำ
 

1. นำน้ำบูดูใส่หม้อยกขึ้นตั้งไฟพอเดือด
 

2. ใส่น้ำเปล่าเดือดอีกครั้งใส่ตะไคร้ กระชาย หอมแดง ข่า ใบมะกรูด ใบเตย
 

3. ขณะต้มค่อย ๆ ช้อนฟองดำ ๆ ออกให้หมด
 

4. ใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย เบาไฟ เคี่ยวประมาณ 30 นาที หรือจนน้ำบูดูหอม
 

5. ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง
 

6. จัดข้าวสวยใส่จานวางเคียงด้วยส่วนผสมที่เหลือ เวลารับประทานจึงราดน้ำบูดูปรุงรส



เรื่อง : ป้าแก้มอิ่ม
ภาพ : PG
บทความแนะนำอื่นๆ
สูตรอาหารน่าสนใจ
ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้า หรือ ไข่สำเภา เป็นการแปรรูปไข่อีกแบบหนึ่งของคนจีนที่มานาน สามารถทำได้ทั้งไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา โดยนำไข่ไปแช่หรือหมักในส่วนผสมที่มาจาก ปูนขาว, เกลือ, โซเดียมคาร์บอเนต, ใบชาดำ, ซิงก์ออกไซด์ และน้ำ ใช้เวลาหมักประมาณ 15-20 วัน เพื่อให้ไข่เกิดความเป็นด่าง ซึ่งสาเหตุที่ไข่เยี่ยวม้ามีเปลือกเป็นสีชมพูในปัจจุบันส่วนมากเกิดจากพ่นสีหรือทาสีลงไปที่เปลือกไข่หลังจากผ่านกระบวนการหมัก หรือแต่ถ้าเป็นสมัยก่อนจะทาด้วยปูนแดงที่กินกับหมาก บางทีก็มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการผสมโซเดียมคาร์บอเนตหรือปูนขาวลงไป จึงทำให้ไข่มีสีที่แตกต่างไปจากเดิม สำหรับการเก็บรักษาไข่เยี่ยวม้าอย่างถูกวิธีและสะอาดนั้น ทำให้สามารถเก็บไข่เยี่ยวม้าได้นานเกือบ 6 เดือน
แสดงความคิดเห็น

* จำเป็นต้องกรอก

คะแนนสำหรับบทความนี้ *
รายละเอียด *
ยังไม่มีรีวิว
บทความใกล้เคียงดูบทความทั้งหมด  

Organic Supply “ออร์แกนิค” ไม่ได้เป็นแค่กระแส

ถามว่ากระแสสุขภาพช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง บอกได้คำเดียวว่า “ดี” ถึงขั้นดีมาก เพราะคนไทยเริ่มหันมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้น ไม่เฉพาะอาหารการกินอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การออกกำลังกาย การดูแลตัวเองในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเกี่ยวพันกับกระแส “ลดโลกร้อน” ที่กำลังมาแรงจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว ถามว่ากระแสสุขภาพช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง บอกได้คำเดียวว่า “ดี” ถึงขั้นดีมาก เพราะคนไทยเริ่มหันมาสนใจสุขภาพกันมากขึ้น ไม่เฉพาะอาหารการกินอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การออกกำลังกาย การดูแลตัวเองในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเกี่ยวพันกับกระแส “ลดโลกร้อน” ที่กำลังมาแรงจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว ครั้งนี้อยากพูดเรื่องของกระแสลดโลกร้อน ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของ “ออร์แกนิค” คำว่าออร์แกนิคถ้าให้ตีความหมายรวมคงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมี ไม่มีการดัดแปลง ไม่ใช่ผลิตผลจากพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs - Genetically Modified Organisms) โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ผ่านกฎง่าย ๆ เพียงแค่ 3 ข้อคือ 1. ส่วนประกอบทุกอย่างมาจากธรรมชาติ 2. ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ เลย 3. ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการผลิต ถ้าพูดเรื่องนี้เมื่อ 10 ปีก่อนคงเป็นเรื่องที่จับต้องยากพอสมควร แต่ในปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายแล้ว เนื่องจากมีผู้ผลิตมากมายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคมากมายที่เป็นสินค้าออร์แกนิค รวมถึงร้านอาหารด้วยเช่นกัน ครั้งนี้เรานัดพูดคุยกับเจ้าของร้าน Organic Supply ทั้ง 4 ท่าน เพื่อนำเสนอมุมมองง่าย ๆ เกี่ยวกับ ออร์แกนิค ให้ได้ทราบกันว่าเข้าถึงง่ายกว่าที่หลายคนคิด