ไมโครกรีน พืชจิ๋วประโยชน์แจ๋ว ปลูกง่ายได้ประโยชน์

แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
แเสดงความคิดเห็น
ถูกใจ
6,812    6    -4    12 ก.พ. 2563 19:30 น.
แบ่งปัน
       การปลูกผักกินเองฟังดูเป็นเรื่องยากสำหรับคนเมือง เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบและที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่จำกัด แต่ก็มีพืชบางชนิดที่เราสามารถปลูกได้โดยใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยอย่างต้นอ่อนของพืชชนิดต่าง ๆ และในช่วงหลังมานี้ก็มีพืชอีกชนิดหนึ่งที่เป็นกระแสในหมู่คนรักสุขภาพอย่างมากก็คือ “ไมโครกรีน” (Microgreen) ผักจิ๋วที่ประโยชน์ไม่จิ๋วตาม ปลูกง่าย โตทันใจ ใช้พื้นที่น้อย แถมยังนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู
 
แม้ไมโครกรีนกับต้นอ่อนจะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันก็คือไมโครกรีนเป็นต้นอ่อนที่มีระยะการเจริญเติบโตต่อมาอีกระยะหนึ่งหลังจากรากเพิ่งงอกออกมาจากเมล็ดและมีใบจริงประมาณ 2 – 3 ใบ ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ มีความสูงประมาณ 2 – 3 นิ้ว พืชผักที่นำมาปลูกไมโครกรีนได้มีหลากหลายชนิด โดยผักที่นิยมนำมาปลูก เช่น คะน้า ผักชี ผักบุ้ง ทานตะวัน นอกจากนี้ผักพื้นบ้านของไทยก็ยังสามารถมาทำเป็นไมโครกรีนได้ เช่น ผักขี้หูด กระถิน ผักปลัง ผักโขม และโสน
 
เห็นต้นจิ๋วแบบนี้แต่ไมโครกรีนนั้นอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย โดยไมโครกรีนมีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารมากกว่าผักทั่วไป เพราะถูกเก็บทันทีหลังจากเพิ่งงอกเป็นต้นอ่อน ทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสะสมอยู่ที่ต้นอ่อนผักที่ถูกเก็บในเวลาที่เหมาะสม มีทั้งวิตามินเอ บี ซี อี เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันร่างกายจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ อัมพาต โรคข้อ ต้อกระจก พืชผักบางชนิดยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย รวมทั้งฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ได้อีกด้วย
 

อุปกรณ์
1. ภาชนะปลูก เช่น ถาดเพาะเมล็ด กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วน้ำพลาสติก
2. ดินหรือวัสดุปลูกที่มีลักษณะอุ้มน้ำได้ดี ร่วนซุย มีความอยู่ตัว
3. เมล็ดพันธุ์

ขั้นตอนการปลูกผักไมโครกรีน
 

1. เจาะรูถาดเพาะเพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก ใส่ดินลงในถาดเพาะแล้วกดดินเล็กน้อยเพื่อให้หน้าดินเรียบเสมอกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้เพื่อความเรียบร้อย ผลผลิตดูสะอาดและสวยงาม อาจนำผ้ามาห่อดินไว้ เนื่องจากเวลารดน้ำดินจะกระเด็นขึ้นมาเปรอะเปื้อนต้นอ่อนได้
 

2. นำช้อนตักเมล็ดพันธุ์โรยบนดินให้กระจายเต็มผิวหน้าดิน แต่อย่าโรยเมล็ดพันธุ์ให้แน่นจนซ้อนทับกัน เพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์เน่า
 

3. ฉีดน้ำเบา ๆ พรมดินให้ชุ่มด้วยกระบอกฉีดน้ำเพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์เสียหายจากการรดน้ำที่แรงเกินไป
 

4. นำถาดเพาะไปเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงหรือในที่มืดเป็นเวลา 3 วันเพื่อให้เมล็ดงอก โดย 3 วันนี้ไม่จำเป็นต้องให้น้ำแต่ต้องควบคุมให้ดินชื้นอยู่เสมอ อาจใช้วิธีหล่อน้ำเล็กน้อยในภาชนะเพื่อให้เกิดความชื้น
 

5. ผ่านไป 3 วันลำต้นจะเริ่มงอกสูงพ้นขอบถาด ให้นำออกมาวางรับแสงแดดอ่อน ๆ แต่อย่าให้โดนแดดแรง ๆ โดยตรงเป็นเวลา 5 วัน หรือจนกว่าจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว
 

6. เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวลำต้นจะมีขนาดความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว และมีใบจริงออกมา 2-3 ใบ สีของลำต้นชัดเจนเพราะผ่านการสังเคราะห์แสงทำให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น
 
บทความแนะนำอื่นๆ
สูตรอาหารน่าสนใจ
แสดงความคิดเห็น

* จำเป็นต้องกรอก

คะแนนสำหรับบทความนี้ *
รายละเอียด *
ยังไม่มีรีวิว
บทความใกล้เคียงดูบทความทั้งหมด  

เมนูพื้นบ้านต้านโควิด-19 กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง

สถานการณ์ โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงวิกฤตสุด ๆ นอกจากต้องระวังรักษาตัวเองแล้ว ยังต้องเยียวยาจิตใจกันเป็นการใหญ่ หลายคนเกิดอาการแพนิคเพราะไม่รู้ว่าตัวเองติดไวรัสหรือยัง จะให้ไปตรวจแต่ละครั้งก็ใช้เงินเยอะเหลือเกิน แม่บ้านอย่างเราจึงอยากเป็นกำลังใจให้ทุกคน สู้ ๆ กันต่อไป เราคงช่วยอะไรไม่ได้มากนอกจากหาเมนูอร่อย ๆ มาให้แฟนเพจได้นำไปลองทำดู ซึ่งคราวนี้เป็น 30 เมนูพื้นบ้านต้านโควิด-19 ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้ตามที่สมาคมแพทย์แผนไทยได้แนะนำมา โดยนพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก แนะนำผักผลไม้สมุนไพร 3 กลุ่ม เพื่อเสริมภูมิต้านทานของร่างกายช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ กลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน, กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง และกลุ่มที่มีสารสำคัญที่มีศักยภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากอาหารจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว เรายังสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากตัวเองก่อน เช่น การล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอลล์ ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เป็นหวัด มีอาการไอ จาม กินร้อนช้อนตัวเอง งดเดินทางไปประเทศเสี่ยง และรักษาระยะห่างจากคนอื่น ๆ งดการพบปะสังสรรค์และร่วมกิจกรรม หรือเดินทางไปในที่ที่มีคนเยอะ จะช่วยลดการแพร่ระบาด และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้